ช่องทางการติดต่อ:

0

ความแตกต่างระหว่างเหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ มีอะไรบ้าง?

Main keyword: เหล็กกัลวาไนซ์

Secondary keyword: เหล็กกัลวาไนซ์ คือ , เหล็กกัลวาไนซ์ เชื่อม , เหล็กกัลวาไนซ์ ราคา , เหล็กกัลวาไนซ์ ขนาด

ทุกโครงสร้างล้วนมีการใช้เหล็กที่แตกต่างกัน แต่เหล็กที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้รับเหมา ช่างรับเหมา ต้องยกให้เหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ ซึ่งเหล็กทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีความแตกต่างอย่างไร เราจะพาไปเปรียบเทียบ และหาคำตอบกัน

ใครที่ทำงานในสายก่อสร้าง หรือดูแลโครงสร้าง ต้องรู้จัก เหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์ อย่างแน่นอน เพราะเป็นชนิดของเหล็กที่ถูกนำมาใช้ในโครงสร้างทั้งเล็ก และใหญ่ เนื่องจากตอบโจทย์การใช้งาน ป้องกันสนิมได้ อีกทั้งยังผู้รับเหมาะยังนิยมใช้เป็นตัวเลือกแรกๆ ในการก่อสร้าง แต่คนทั่วไปอาจเกิดข้อสงสัย และแยกความแตกต่างของเหล็กดำ กับ เหล็กกัลวาไนซ์ได้ยาก แน่นอนว่าเรื่องสีที่ต่าง คือเรื่องแรกที่เห็นได้ชัด แต่รายละเอียดด้านในต่างกว่าเยอะมาก รวมถึงเรื่องราคาที่ห่างกันพอสมควร จะเลือกใช้แบบไหน ลองมาดูไปพร้อมกันเลย

เหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร

  • เหล็กดำ
    หลายคนคุ้นชื่อและน่าตา เพราะเห็นได้ในงานก่อสร้างขนาดเล็กและใหญ่ ตัวเหล็กจะมีน้ำหนักเบามาก ทนทานรับแรงดันได้อย่างดี ส่วนการผลิตใช้การหล่อ หรือรีดขึ้นโดยไม่ผ่านกระบวนการจุ่มร้อน และไม่ต้องเคลือบสารกันสนิม ทำให้มีราคาถูก แต่มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
  • เหล็กกัลวาไนซ์
    อาจดูชื่อไม่คุ้น แต่นิยมใช้เช่นกัน จัดเป็นเหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบสังกะสี ทำให้ป้องกันการกัดกร่อนของสนิมได้ ข้อสำคัญน้ำหนักเบา เหมาะกับใช้ภายนอกอาคาร เพื่อโชว์พื้นผิวของวัสดุนั่นเอง 

เหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร

การใช้งานเหล็กดำ จะเหมาะกับงานโครงสร้างหลัก ใช้ในงานวิศวกรรมต่างๆ ส่วนกัลวาไนซ์ จะถูกใช้ในโครงสร้างที่รองลงมา แต่ตอบโจทย์มากกว่า เพราะสามารถใช้งานได้ทันที ดังนั้นจะเลือกใช้แบบไหน ต้องเลือกให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจทำให้โครงสร้างของคุณไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ

เปรียบเทียบ เหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์

เมื่อทราบที่มาที่ไปของเหล็กทั้งสองชนิดแล้ว ต่อไปลองมาเปรียบกับคุณภาพกัน ลองเอาเหล็กทั้ง 2 ชนิดมาเทียบกันแบบช็อตต่อช็อต ให้ทุกคนได้เห็นความต่าง เรื่องแรก คือสีภายนอก เหล็กดำจะมีสีดำเข้ม ส่วนเหล็กกัลวาไนซ์จะออกเป็นสีเทาเงิน ส่วนการป้องกันสนิม เหล็กดำจะเกิดสนิมได้ง่ายกว่า เพราะไม่ได้ทาสารเคลือบสังกะสีนั่นเอง ส่วนเหล็กกัลวาไนซ์ที่ผ่านการเคลือบจึงป้องกันได้ดีกว่า ต่อไปเป็นเรื่องการเตรียมชิ้นงาน เหล็กดำ จะต้องทาสีรองพื้นก่อน ส่วนเหล็กกัลวาไนซ์พร้อมใช้งานได้ทันที ส่วนเรื่องการน้ำหนัก ที่ถือเป็นสิ่งสำคัญ เหล็กดำสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า นิยมใช้ในงานโครงสร้างขนาดใหญ่ ส่วนกัลวาไนซ์รับน้ำหนักได้ไม่เยอะ ควรใช้กับโครงสร้างรอง ปิดด้วยเรื่องของราคา เหล็กดำจะถูกกว่าเหล็กกัลวาไนซ์เกือบเท่าตัว แต่คุณก็ต้องเสียเงินจ้างช่างเพิ่มมาทาสีรองพื้นเช่นเดียวกัน ทำให้เหล็กกัลวาไนซ์แม้จะแพงกว่า แต่พร้อมใช้งานได้เลย

คำถามที่พบบ่อย

Q : เหล็กดำ กับ เหล็กกัลวาไนซ์ ราคาเท่าไหร่บ้าง?
A : เหล็กกัลวาไนซ์ ราคาเริ่มต้นที่ 195 บาท ส่วนเหล็กดำ ราคาเริ่มต้นที่ 183 บาท แล้วแต่ขนาด

Q : เหล็กกัลวาไนซ์ สามารถ เชื่อมได้ไหม?
A : เหล็กกัลวาไนซ์ เชื่อมได้ เหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร หรืองานโครงสร้างที่ต้องโชว์ผิวของวัสดุ


Q : มี เหล็กกัลวาไนซ์ ขนาดไหนบ้าง?
A : มีตั้งแต่ขนาด 1″ x 1″ x 0.80mm. – 1″ x 1″ x 2.30mm. สามารถเลือกตามขนาดที่ต้องการใช้งานได้

ความแตกแต่งระหว่างเหล็กดำ VS เหล็กกัลวาไนซ์ : รูปลักษณ์ภายนอก

ความแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดเจนคือ เหล็กกัลวาไนซ์ (PRE ZINC) จะเป็นสีเงินเทา หากผิวเหล็กที่มีความเงาวาว จะเรียกว่าผิว Pre-Zinc GI แต่ถ้าหากมีผิวสีเทาด้าน จะเรียกว่าผิวPre-Zinc GA -ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ อาจจะมีลายดอกหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับความหนาที่ชุบ และค่าทางโลหะของเหล็กกัลวาไนซ์ของแต่ละล๊อตการผลิตหรือนำเข้า

เหล็กกัลวาไนซ์ Pre-Zinc มีส่วนผสมของสังกะสี หรือ ซิงค์ ทำให้มีคุณสมบัติน้ำหนักเบา ทนทานต่อการกัดกร่อนของสนิมและสารเคมี จึงเหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร หรืองานที่ต้องการโชว์ผิวของวัสดุ

ความหนาของเหล็กกัลวาไนซ์ (GI) มีการปรับความหนาเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ 0.8 มม. ขึ้นไปจนถึง 2.9 มม. เพื่อให้ใกล้เคียงกับเหล็กรูปพรรณดำ เช่น เหล็กกล่องชนิดต่างๆ จึงสามารถนำไปใช้ในงานโครงสร้างรอง โครงสร้างหลังคา หรือโครงสร้างขนาดเล็กได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้ช่างและเจ้าของบ้านสามารถเลือกใช้เหล็กกัลวาไนซ์ (GI) ตามความหนาที่เหมาะสมหรือต้องการได้


ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำต่างกันอย่างไร

“เหล็กดำราคาต่างจากเหล็กกัลวาไนซ์เท่าไหร่”
“เหล็กกัลวาไนซ์แพงกว่าเหล็กดำเยอะไหม”
“เหล็กกัลวาไนซ์ประหยัดกว่าเหล็กดำจริงหรือไม่?

1. ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำ
อ้างอิงจากราคาตลาดเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำ อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ราคาเหล็กทุกชนิดมีการผันผวนตามราคาตลาดโลก ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ และ ราคาเหล็กดำก็มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา แต่ที่ชัดเจนคือ ราคาเหล็กกัลวาไนซ์มีราคาต้นทุนการผลิตที่สุงกว่าเหล็กดำทำให้ราคาตลาดต่อ กิโลกรัม สูงกว่าเหล็กดำ เฉลี่ยที่ 15-25% ตามแต่ลักษณะขนาด และ ความหนาของเหล็กไซค์นั้นๆ ยิ่งเหล็กกัลวาไนซ์ที่มีความหนา 0.8มม -1.2มม จะมีต้นทุนการผลิตและต้นทุนการนำเข้า ต้นทุนด้านภาษีต่างๆ ที่สูงกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ที่มีความหนาเกิน 1.20 มม.

2. ต้นทุนค่าทำสีระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำ
โดยมาตราฐานแล้ว ช่างทั่วไปจะมีการทำสีเหล็กดำสองรองอย่างต่ำ คือ ทาทั้งสีรองพื้น 1-2ครั้งเพื่อกันสนิม และสีจริง 1 ครั้งเพื่อความสวยงาม แต่เหล็กกัลวาไนซ์(GI) มีคุณสมบัติป้องกันสนิมในตัวอยู่แล้ว จึงทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้มากกว่าเหล็กผิวดำ เพราะใช้สีรองพื้นกันสนิมสำหรับเหล็กกัลวาไนซ์นั้น สามารถใช้ได้ปริมาณที่น้อยกว่าแค่ทาสีกันสนิมเฉพาะส่วนของรอยเชื่อม ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากทาสีรองพื้นสำหรับเหล็กกัลวาไน์ อีกชั้น ก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานของเหล็กกัลวาไนซ์(GI)ให้ยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย การใช้เหล็กกัลวาไนซ์จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มช่างเพราะลดตันทุนค่าสีและยังลดระยะเวลาในการทำงานลงอีกด้วย

3. ต้นทุนค่าแรงช่างและประหยัดเวลา
เนื่องจากเหล็กกัลวาไนซ์(GI) ช่วยลดขั้นตอนในการทาสีลง และไม่ต้องทาสีรองพื้นและรอให้แห้งเป็นวันๆ เหมือนเหล็กดำ ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการจ้างงาน ลดลงตามไปด้วย จึงช่วยให้เจ้าของบ้านเซฟค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้อีก แถมยังสร้างมูลค่าของงานรับเหมาได้อีกด้วย เหล็กกัลวาไนซ์จึงเป็นที่นิยมทั้งภายในกลุ่มช่าง และเจ้าของบ้าน

กระบวนการเผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ

“กระบวนการผลิตเหล็กเหล็กกัลวาไนซ์ผลิตต่างจากเหล็กดำอย่างไร”
“วัตถุดิบที่ใช้ต่างกันอย่างไรระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ”

กระบวนการผลิตเหล็กพรีกัลวาไนซ์ (GI)

เหล็กพรีกัลวาไนซ์ (GI) มีส่วนประกอบของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนกว่าเหล็กรูปพรรณดำ โดยมีกระบวนการผลิตแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง คือ การนำคอยส์เหล็กม้วนใหญ่จุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี หรือ ซิงค์หลอมเหลวด้วยความร้อน 450 องศา ด้วยความเร็วสูง โดยโดยชั้นเหล็กจะถูกผ่านกระบวนการชุบ้วยความเร็วและในบ่อสังกะสีประมาณ 2 ถึง 4 วินาที และหลังจากได้คอยส์หรือเหล็กม้วนกัลวาไนซ์แล้ว จึงนำม้วนเหล็กกัลวาไนซ์มาตัด พับ ขึ้นรูปเป็นทรงต่างๆ เช่น กล่องเหลี่ยมกล่องแบน ฉากพับ ท่อกลม เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกกันว่า เหล็กขาว หรือ เหล็กรีดเย็น
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เหล็กกัลวาไนซ์ GALVANIZED STEEL คืออะไร


กระบวนการผลิตเหล็กดำ (CA)

การผลิตของเหล็กดำ CA จะเป็นการหล่อ หรือ นำเหล็กนำมารีดขึ้นรูปโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการจุ่มร้อน หรือเคลือบกันสนิมจึงทำให้มีความต่างในเรื่องของตันทุนการผลิตค่อนข้างมาก แต่เหล็กดำก็เป็นเหล็กที่ได้มาตราฐานและใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน และมีมาตราฐาน มอก. ต่างๆ รองรับแต่ละผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน




มาตราฐาน เหล็กกัลวไนซ์ VS เหล็กดำ

“เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐาน มอก. หรือไม่”
“เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐานเทียบเท่าเหล็กดำอย่างไร”

มาตราฐานการผลิตเหล็กกล่องกัลวาไนซ์ มีหรือไม่?

เป็นอีกคำถามที่น่าสนใจและกลายเป็นเรื่องร้อนแรงของวงการเหล็กกัลวาไนซ์เช่นกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีคนหันมาให้เหล็กกัลวาไนซ์กันมาขึ้น ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดให้มี มอก. 50-2561 เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน แผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นตัด และแผ่นลูกฟูก เพื่อมาช่วยควบคุมเรื่องมาตราฐานการผลิต โดยกำหนดมาตราฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 สิงหาคม 2563
ดังนั้น ผู้ผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ภายในประเทศไทยจึงเริ่มมีปรับมาตราฐานการผลิตเพื่อให้สอดคล้องและรองรับมาตราฐาน มอก.50-2561

มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กดำ

เหล็กเป็นโครงสร้างหลักที่สำคัญต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงต้องมาการควบคุมให้ได้มาตราฐาน ดังนั้นจึงมี มอก.ต่างๆออกมาควบคุมการผลิต อาทิเช่น

  • มอก. 1227-2558 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
  • มอก. 24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย
  • มอก. 20-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม
  • มอก. 50-2561 เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน แผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นตัด และแผ่นลูกฟูก
  • มอก. 1227-2558 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
  • มอก. 1228-2561 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น
  • มอก. 528-2548 เหล็กกล้าคาร์บอนทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานทั่วไปและงานขึ้นรูป

**สามารถ download เอกสาร มอก. ได้ตามลิงค์***


ค่าความแข็งของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ

“เหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำมีความแข็งแรงต่างกันไหม”
“อายุการใช้งานระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำต่างกันอย่างไร”

ค่าความแข็ง Yeild Strenght ของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ

ความคงทนและความแข็งแรงระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ ถ้ากล่าวถึงค่าความแข็งคงต้องพูดถึงค่า Yeild Strenth ของเหล็ก

  • เหล็กกัลวาไนซ์แบบกล่องจะมีค่าเฉลี่ยของ Yeild Strenght ประมาณ 2500 ksc หรือ 245 MPa และ มีค่า Tensile Strenght ที่ 4000 Ksc หรือ 400 MPa โดยจะมีอายุการใช้งานของเหล็กกัลวาไนซ์จะทนทานกว่า 15-20 ปี
  • เหล็กรูปพรรณ หรือ เหล็กกล่องดำ จะมีค่าเฉลี่ยของ Yeild Strenght ตำสุดประมาณ 2500 ksc หรือ 245 MPa ถึง 4000ksc/400 Mpa หรือมากกว่าตามประเภทและความหนา และ มีค่า Tensile Strenght ที่ 4500 Ksc หรือ 450 MPa ขึ้นไป ดังนั้นโครงสร้างขนาดใหญ่หรือโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักอาคารสูงจึงเลือกใช้ เหล็กรูปพรรณที่ได้รับมาตราฐาน

สรุปจะใช้เหล็กกัลวาไนซ์หรือเหล็กดำดี

เมื่อศึกกษาถึงความแตกแต่งระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำแล้ว ก็ต้องเข้าใจถึงโครงสร้างอาคารว่าควรใช้เหล็กแบบไหนเหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์(GI) มีข้อดีที่แตกต่างกัน เพียงแต่ผู้รับเหมา ช่างรับเหมา หรือเจ้าของบ้าน เลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานตามหลักวิศวกรรม ก็จะช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัย และที่สำคัญ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน หรือต่อเติมได้ โดยช่างส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้เหล็กพรีกัลวาไนซ์ เพราะเป็นเหล็กที่ใช้งานง่าย ขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาตัดเชื่อมได้ทันที ไม่ต้องทาสี รอสีแห้ง งานเสร็จใว หน้างานไม่เลอะ เพราะเหล็กพรีกัลวาไนซ์มีคุณสมบัติทนต่อการเกิดสนิม จึงใช้งานภายนอกได้ดี แม้ทางผู้ผลิตจะบอกว่าความแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็กดำ แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ทำโครงสร้างหลักสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นผู้งานควรปรึกษาวิศวะกรโครงสร้างหรือช่างผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับงานตามหลักวิศวกรรม บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัดยินดีให้คำปรึกษาทุกกรณี

สั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Tel : 02-101-1298 (Head Office)
094-146-2928 (Hot-Line)
Line ID : @695isbas Mail : aplus.online@aprimeplus.com


บทความนี้เรียบเรียงโดยทีมงานบริษัทเอไพร์ม พลัส จำกัด ©copy right All rights reserved
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล

บทความที่เกี่ยวข้อง