เข้าใจความแตกต่างระหว่างเหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG และ เหล็กชุบซิงค์
คุณเคยสงสัยไหมว่าเหล็กชุบซิงค์กับเหล็กชุบร้อนกัลวาไนซ์ต่างกันอย่างไร?
ทั้งสองชนิดดูเหมือนจะเหมือนกัน เพราะต่างก็เป็นเหล็กที่ผ่านการชุบด้วยสังกะสีเพื่อป้องกันสนิม แต่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างที่สำคัญซ่อนอยู่ เรามักจะเรียก เหล็กชุบกัลวาไนซ์, เหล็กชุบซิงค์ และเหล็กกัลวาไนซ์ GI ซึ่งเป็นคำที่มักถูกใช้สับสนกัน เนื่องจากมีความหมายที่ใกล้เคียงกันและมักถูกนำไปใช้เรียกผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน แต่หากเจาะลึกลงไปแล้ว จะพบว่ามีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน
เหล็กชุบกัลวาไนซ์: เป็นคำเรียกทั่วไปที่หมายถึงเหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบด้วยสังกะสี (Zinc) เพื่อป้องกันสนิม คำว่า “กัลวาไนซ์” มาจากชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีที่คิดค้นกระบวนการนี้
- HDG (Hot-Dip Galvanized): ย่อมาจาก Hot-Dip Galvanized หมายถึงเหล็กที่ชุบสังกะสีด้วยวิธีการจุ่มร้อน เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากให้ชั้นสังกะสีที่หนาและสม่ำเสมอ ทำให้เหล็กมีความทนทานต่อการเกิดสนิมสูง
- GI (Galvanized Iron): ย่อมาจาก Galvanized Iron หมายถึงเหล็กชุบสังกะสีเช่นกัน แต่บางครั้งอาจใช้เรียกเฉพาะเหล็กแผ่นที่ชุบสังกะสี หรือ เหล็กแผ่นชุบสังกะสีที่นำมาตัดซอยเพื่อผลิตขึ้นรูปเป็นทรงต่างๆ เช่น เหล็กกล่องเหลี่ยม เหล็กกล่องแบน หรือ ท่อกลม เป็นต้น
เหล็กชุบซิงค์ หรือ เหล็กกัลวาไนซ์ GI คืออะไร?
เหล็กชุบซิงค์ เหล็กกัลวาไนซ์ GI คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบด้วยสังกะสี (Zinc) โดยการใช้ไฟฟ้าเป็นตัวเหนี่ยวนำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ปกป้องพื้นผิวจากการกัดกร่อนและการสนิม ก่อนจะนำมาขึ้นรูปรีดออกมาเป็นลักษณะของเหล็กรูปพรรณตามความต้องการโดยมีชั้นสังกะสีเคลือบบนผิวเหล็กค่อนข้างบาง มักไม่เกิน 6-20 ไมครอน ทำให้มีน้ำหนักเบาและเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสวยงาม หรือใช้งานในพื้นที่ที่ไม่ต้องรับแรงกระแทกมากนัก เช่น งานตกแต่งภายใน อาคาร โครงสร้างเบาที่รับน้ำหนักไม่มาก โครงหลังคา เป็นต้น
ข้อดีของเหล็กชุบซิงค์ เหล็กกัลวาไนซ์ GI:
1. น้ำหนักเบา
2. ผิวเรียบเนียน สวยงาม
3. ราคาประหยัด
ข้อจำกัดของเหล็กชุบซิงค์ เหล็กกัลวาไนซ์ GI:
1. ความทนทานต่อการเกิดสนิมน้อยกว่าเหล็กชุบร้อนกัลวาไนซ์ HDG
2. ไม่เหมาะสำหรับงานภายนอกหรืองานที่ต้องรับแรงกระแทกสูง
มาตราฐานเหล็กชุบซิงค์ เหล็กกัลวาไนซ์ GI ในประเทศไทย
1. มอก.107-2561 คือ มอก ไม่บังคับ ซึ่งมีการออกมาเพื่อรองรับมาตราฐานเหล็กรูปพรรณ ประเภท เหล็กกัลวาไนซ์ GI ที่ขึ้นรูปทรงต่างๆ เช่น เหล็กกัลวาไนซ์กล่องเหลี่ยม เหล็กกัลวาไนซ์กล่องแบน ท่อกลมกัลวาไนซ์ มีโรงงานไม่กี่แห่งในประเทศไทยดำเนินการขอและอนุญาติมาตราฐานนี้
2. มอก 1228-2561 คือ มอก ไม่บังคับ สำหรับเหล็กตัวซีกัลวาไนซ์ GI 3. กรณีที่ไม่มี มอก. แต่วัตถุดิบต่างๆ ควรมี Mill Certification สำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตว่ามีแหล่งที่มา และ ผลิตออกมาได้มาตราฐานที่ชัดเจน
เหล็กชุบกัลวาไนซ์ เหล็กชุบร้อนกัลวาไนซ์ หรือ เหล็ก Hot Dip Galvanized คืออะไร?
เหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing) ทำให้ได้ชั้นสังกะสีที่หนาและสม่ำเสมอ ตั้งแต่ 45-300 ไมครอนขึ้นไป โดยการจุ่มเหล็กรูปพรรณลงในอ่างสังกะสีหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูง ทำให้สังกะสีเกาะติดกับผิวเหล็กเป็นชั้นหนา ทำให้มีความแข็งแรง ทนทานต่อการเกิดสนิม และมีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับงานโครงสร้างภายนอก เช่น โครงหลังคา รั้ว สะพาน
ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG
1. ความทนทานสูง
2. ป้องกันสนิมได้ดีเยี่ยม
3. อายุการใช้งานยาวนาน
4. เหมาะสำหรับงานภายนอก
ข้อจำกัดของเหล็กกัลวาไนซ์
1. น้ำหนักมากกว่าเหล็กชุบซิงค์
2. ราคาสูงกว่าเหล็กชุบซิงค์ เหล็กกัลวาไนซ์ GI
มาตราฐานเหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG
1.มาตราฐานการชุบกัลวาไนซ์ : มาตราฐาน ASTM A123
2. มาตราฐานเหล็กรูปพรรณ: สามารถเลือกใช้เหล็กรูปพรรณ ทุกชนิดที่มีมาตราฐาน มอก. ในประเทศไทยได้ทุกประเภท
สรุปแล้วควรเลือกเหล็กชนิดใดดี?
การเลือกใช้เหล็กชุบซิงค์หรือเหล็กกัลวาไนซ์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น:
- สภาพแวดล้อม: หากใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือสัมผัสกับสารเคมี ควรเลือกเหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG
- โครงสร้าง: หากเป็นโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ควรเลือกเหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG
- งบประมาณ: หากมีงบประมาณจำกัด อาจเลือกเหล็กกัลวาไนซ์ GI เหล็กชุบซิงค์ สำหรับงานที่ไม่สำคัญมากนัก
- ความสวยงาม: หากเน้นความสวยงามของผิวเหล็ก อาจเลือกเหล็กกัลวาไนซ์ GI
เรียบเรียงข้อมูล โดย ทีมงาน บริษัทเอไพร์ม พลัส จำกัด
แหล่งที่มาข้อมูล
https://en.wikipedia.org/wiki/Galvanization
https://en.wikipedia.org/wiki/Electrogalvanization
https://galvanizeit.org/
https://www.britannica.com/technology/electrogalvanizing
https://en.wikipedia.org/wiki/Electrogalvanization
สั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Tel: 02-101-1298 (Head Office)
094-146-2928 (Hot-Line)
E-mail: aplus.online@aprimeplus.com
Line ID: @695isbas