คำอธิบาย
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดเหลือง ปลายเกลียว BS-S
คุณสมบัติของ ท่อประปากัลวาไนซ์ BS-S
- ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดเหลือง BS-S ลักษณะความหนาของผนังท่อ บางที่สุด
- มีคุณสมบัติการป้องกันการเกิดสนิม และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า ท่อเหล็กดำ
- เหมาะกับงานที่มีการรับน้ำหนักไม่มาก เช่น ท่อลำเลียง ท่อประปา ท่อชลประทาน เต๊นท์ นั่งร้าน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
- นิยมนำไปใช้งานท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไปเป็นหลัก
- ความยาวมาตรฐาน 6 เมตร/ท่อน
- มีอายุการใช้งานของยาวนานกว่า 20 ปี
- BS 1387
วัตถุดิบของเหล็ก
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดเหลือง ปลายเกลียว BS-S ผลิดโดยการนำท่อเหล็กดำ ไปชุบเคลือบด้วยสังกะสี เพื่อสร้างชั้นเคลือบทำให้มีคุณสมบัติการป้องกันการเกิดสนิม และผุกร่อน มีความทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ท่อเหล็กดำ ที่เคลือบและไม่เคลือบสีรองพื้น เหมาะกับงานเดินท่อลำเลียง ท่อประปา ท่อชลประทาน การขึ้นรูปโครงสร้างต่างๆ ท่อเหล็กอาบสังกะสี มีความสามารถในการรับแรงดัน สะดวกในการเชื่อมต่อ
มาตราฐาน 1387:1985 มีคุณสมบัติอย่างไร?
มาตราฐาน 1387:1985 คือ มาตราฐานท่อที่อ้างอิงจาก ประเทศอังกฤษ โดย สถาบัน BSI-British Standards Institution ที่กำหนดท่อขนาด DN8 (1/4″) ถึง DN150 (6″) และจะมีลักษณะเป็นปลายเกลียวตามมาตราฐน มีการทำเทสแรงดันน้ำ จึงสามารถนำมาใช้ในงานท่อน้ำประปาได้
การรับแรงดัน 50 Bars หรือเทียบเท่า 5 Mpa
Elongation ต่ำสุด : 20%
Tensile Strength : 320-460 Mpa
Yeild Strength : 195 Mpa
ความหนาท่อ มีค่า + / – ตามมาตราฐาน 8-10%
น้ำหนักท่อ มีค่า + / – ตามมาตราฐาน 8-10%
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ : BS 1387:1985 มีชั้นความหนา 3 ประเภท ดังนี้
– Class Light คาดเหลือง ท่อบาง (BS-S)
– Class Medium คาดนำ้เงิน ท่อปานกลาง (BS-M)
– Class Heavy คาดแดง ท่อหนาสุด (BS-H)
ทำความรู้จักกัลท่อปะปาเหล็กให้มากขึ้น
ท่อประปากัลวาไนซ์ คาดสี (Galvanized steel pipe) ท่อแป๊ป คาดเหลือง / แดง / น้ำเงิน ต่างกันอย่างไร ?