ความแตกต่างระหว่างเหล็กดำ (Carbon Steel) และเหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel)

ความแตกต่างระหว่างเหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ มีอะไรบ้าง?

Main keyword: เหล็กกัลวาไนซ์

Secondary keyword: ราคาเหล็กกัลวาไนซ์, ราคาเหล็กดำ, เหล็กกัลวาไนซ์ คือ , เหล็กกัลวาไนซ์ เชื่อม , เหล็กกัลวาไนซ์ ราคา , เหล็กกัลวาไนซ์ ขนาด , Galvanization , Carbon steel , เหล็กดำ, CA, GI, ป้องกันสนิมได้ดี, ความแข็งแรง

ทุกโครงสร้างล้วนมีการใช้เหล็กที่แตกต่างกัน โดยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่เหมาะสมกับงานที่แตกต่างกันออกไป แต่เหล็กที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้รับเหมา ช่างรับเหมา และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการก่อสร้าง ต้องยกให้เหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ ซึ่งเหล็กทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของกระบวนการผลิต คุณสมบัติทางกายภาพ และการนำไปใช้งาน เราจะพาไปเปรียบเทียบ อย่างละเอียด และหาคำตอบกัน

ใครที่ทำงานในสายก่อสร้าง หรือดูแลโครงสร้าง ต้องรู้จัก เหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์ อย่างแน่นอน เพราะเป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นชนิดของเหล็กที่ถูกนำมาใช้ในโครงสร้างทั้งเล็ก และใหญ่ ตั้งแต่โครงสร้างอาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ เนื่องจากตอบโจทย์การใช้งาน ที่หลากหลาย ป้องกันสนิมได้ ในระดับที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังผู้รับเหมาะยังนิยมใช้เป็นตัวเลือกแรกๆ ในการก่อสร้าง เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน และราคาที่เหมาะสม แต่คนทั่วไปอาจเกิดข้อสงสัย และแยกความแตกต่างของเหล็กดำ กับ เหล็กกัลวาไนซ์ได้ยาก เนื่องจากลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกัน แน่นอนว่าเรื่องสีที่ต่าง คือเรื่องแรกที่เห็นได้ชัด แต่หากพิจารณาถึงรายละเอียดปลีกย่อยแล้ว แต่รายละเอียดด้านในต่างกว่าเยอะมาก ทั้งในแง่ของกระบวนการผลิต คุณสมบัติทางกายภาพ และความเหมาะสมในการใช้งาน รวมถึงเรื่องราคาที่ห่างกันพอสมควร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้วัสดุ จะเลือกใช้แบบไหน ลองมาดูไปพร้อมกันเลย

เหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร

  • เหล็กดำ
    หลายคนคุ้นชื่อและน่าตา เพราะเห็นได้ในงานก่อสร้างขนาดเล็กและใหญ่ ตัวเหล็กจะมีน้ำหนักเบามาก ทนทานรับแรงดันได้อย่างดี ส่วนการผลิตใช้การหล่อ หรือรีดขึ้นโดยไม่ผ่านกระบวนการจุ่มร้อน และไม่ต้องเคลือบสารกันสนิม ทำให้มีราคาถูก แต่มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
  • เหล็กกัลวาไนซ์
    อาจดูชื่อไม่คุ้น แต่นิยมใช้เช่นกัน จัดเป็นเหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบสังกะสี ทำให้ป้องกันการกัดกร่อนของสนิมได้ ข้อสำคัญน้ำหนักเบา เหมาะกับใช้ภายนอกอาคาร เพื่อโชว์พื้นผิวของวัสดุนั่นเอง 

เหล็กดำ (Carbon Steel) และ เหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel) คืออะไร

การใช้งานเหล็กดำ จะเหมาะกับงานโครงสร้างหลัก ใช้ในงานวิศวกรรมต่างๆ ส่วนกัลวาไนซ์ จะถูกใช้ในโครงสร้างที่รองลงมา แต่ตอบโจทย์มากกว่า เพราะสามารถใช้งานได้ทันที ดังนั้นจะเลือกใช้แบบไหน ต้องเลือกให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจทำให้โครงสร้างของคุณไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ

เปรียบเทียบ เหล็กดำ (Carbon Steel) และ เหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel)

เมื่อทราบที่มาที่ไปของเหล็กทั้งสองชนิดแล้ว ต่อไปลองมาเปรียบกับคุณภาพกัน อย่างละเอียด ลองเอาเหล็กทั้ง 2 ชนิดมาเทียบกันแบบช็อตต่อช็อต เพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ทุกคนได้เห็นความต่าง เรื่องแรก คือสีภายนอก เหล็กดำจะมีสีดำเข้ม ซึ่งเป็นสีของเหล็กที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบผิว ส่วนเหล็กกัลวาไนซ์จะออกเป็นสีเทาเงิน เนื่องจากผ่านกระบวนการชุบสังกะสี ส่วนการป้องกันสนิม เหล็กดำจะเกิดสนิมได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับความชื้นและอากาศ เพราะไม่ได้ทาสารเคลือบสังกะสีนั่นเอง ส่วนเหล็กกัลวาไนซ์ที่ผ่านการเคลือบจึงป้องกันได้ดีกว่า ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ต่อไปเป็นเรื่องการเตรียมชิ้นงาน เหล็กดำ จะต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมผิว เช่น การขัด การทำความสะอาด และการทาสีรองพื้น ก่อนนำไปใช้งานจริง ส่วนเหล็กกัลวาไนซ์พร้อมใช้งานได้ทันที เนื่องจากมีชั้นสังกะสีเคลือบป้องกันสนิมอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการรับน้ำหนัก ที่ถือเป็นสิ่งสำคัญ เหล็กดำ โดยทั่วไป สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า เนื่องจากมีความหนาแน่นของเนื้อเหล็กที่สูงกว่า นิยมใช้ในงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น อาคารสูง สะพาน และโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงสูง ส่วนกัลวาไนซ์รับน้ำหนักได้ไม่เยอะ แต่ก็เพียงพอสำหรับงานโครงสร้างส่วนใหญ่ ควรใช้กับโครงสร้างรอง เช่น หลังคา รั้ว และโครงสร้างที่ไม่ได้รับน้ำหนักมาก ปิดท้ายด้วยเรื่องของราคา เหล็กดำจะถูกกว่าเหล็กกัลวาไนซ์เกือบเท่าตัว เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ง่ายกว่า แต่คุณก็ต้องเสียเงินจ้างช่างเพิ่มมาทาสีรองพื้นเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนโดยรวมเพิ่มขึ้น ทำให้เหล็กกัลวาไนซ์แม้จะแพงกว่า แต่ก็คุ้มค่าในระยะยาว เนื่องจากไม่ต้องบำรุงรักษาเพิ่มเติม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า แต่พร้อมใช้งานได้เลย

CA เปรียบเทียบ GI

คำถามที่พบบ่อย

Q : เหล็กดำ กับ เหล็กกัลวาไนซ์ ราคาเท่าไหร่บ้าง?
A : เหล็กกัลวาไนซ์ ราคาเริ่มต้นที่ 195 บาท ส่วนเหล็กดำ ราคาเริ่มต้นที่ 183 บาท แล้วแต่ขนาด

Q : เหล็กกัลวาไนซ์ สามารถ เชื่อมได้ไหม?
A : เหล็กกัลวาไนซ์ เชื่อมได้ เหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร หรืองานโครงสร้างที่ต้องโชว์ผิวของวัสดุ


Q : มี เหล็กกัลวาไนซ์ ขนาดไหนบ้าง?
A : มีตั้งแต่ขนาด 1″ x 1″ x 0.80mm. – 1″ x 1″ x 2.30mm. สามารถเลือกตามขนาดที่ต้องการใช้งานได้

ความแตกแต่งระหว่างเหล็กดำ VS เหล็กกัลวาไนซ์ : รูปลักษณ์ภายนอก

ความแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดเจนคือ เหล็กกัลวาไนซ์ (PRE ZINC) จะเป็นสีเงินเทา หากผิวเหล็กที่มีความเงาวาว จะเรียกว่าผิว Pre-Zinc GI แต่ถ้าหากมีผิวสีเทาด้าน จะเรียกว่าผิวPre-Zinc GA -ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ อาจจะมีลายดอกหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับความหนาที่ชุบ และค่าทางโลหะของเหล็กกัลวาไนซ์ของแต่ละล๊อตการผลิตหรือนำเข้า

เหล็กกัลวาไนซ์ Pre-Zinc มีส่วนผสมของสังกะสี หรือ ซิงค์ ทำให้มีคุณสมบัติน้ำหนักเบา ทนทานต่อการกัดกร่อนของสนิมและสารเคมี จึงเหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร หรืองานที่ต้องการโชว์ผิวของวัสดุ

ความหนาของเหล็กกัลวาไนซ์ (GI) มีการปรับความหนาเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ 0.8 มม. ขึ้นไปจนถึง 2.9 มม. เพื่อให้ใกล้เคียงกับเหล็กรูปพรรณดำ เช่น เหล็กกล่องชนิดต่างๆ จึงสามารถนำไปใช้ในงานโครงสร้างรอง โครงสร้างหลังคา หรือโครงสร้างขนาดเล็กได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้ช่างและเจ้าของบ้านสามารถเลือกใช้เหล็กกัลวาไนซ์ (GI) ตามความหนาที่เหมาะสมหรือต้องการได้

ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำต่างกันอย่างไร


ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำต่างกันอย่างไร

“เหล็กดำราคาต่างจากเหล็กกัลวาไนซ์เท่าไหร่”
“เหล็กกัลวาไนซ์แพงกว่าเหล็กดำเยอะไหม”
“เหล็กกัลวาไนซ์ประหยัดกว่าเหล็กดำจริงหรือไม่?

1. ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำ
อ้างอิงจากราคาตลาดเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำ อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ราคาเหล็กทุกชนิดมีการผันผวนตามราคาตลาดโลก ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ และ ราคาเหล็กดำก็มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา แต่ที่ชัดเจนคือ ราคาเหล็กกัลวาไนซ์มีราคาต้นทุนการผลิตที่สุงกว่าเหล็กดำทำให้ราคาตลาดต่อ กิโลกรัม สูงกว่าเหล็กดำ เฉลี่ยที่ 15-25% ตามแต่ลักษณะขนาด และ ความหนาของเหล็กไซค์นั้นๆ ยิ่งเหล็กกัลวาไนซ์ที่มีความหนา 0.8มม -1.2มม จะมีต้นทุนการผลิตและต้นทุนการนำเข้า ต้นทุนด้านภาษีต่างๆ ที่สูงกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ที่มีความหนาเกิน 1.20 มม.

2. ต้นทุนค่าทำสีระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำ
โดยมาตราฐานแล้ว ช่างทั่วไปจะมีการทำสีเหล็กดำสองรองอย่างต่ำ คือ ทาทั้งสีรองพื้น 1-2ครั้งเพื่อกันสนิม และสีจริง 1 ครั้งเพื่อความสวยงาม แต่เหล็กกัลวาไนซ์(GI) มีคุณสมบัติป้องกันสนิมในตัวอยู่แล้ว จึงทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้มากกว่าเหล็กผิวดำ เพราะใช้สีรองพื้นกันสนิมสำหรับเหล็กกัลวาไนซ์นั้น สามารถใช้ได้ปริมาณที่น้อยกว่าแค่ทาสีกันสนิมเฉพาะส่วนของรอยเชื่อม ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากทาสีรองพื้นสำหรับเหล็กกัลวาไน์ อีกชั้น ก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานของเหล็กกัลวาไนซ์(GI)ให้ยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย การใช้เหล็กกัลวาไนซ์จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มช่างเพราะลดตันทุนค่าสีและยังลดระยะเวลาในการทำงานลงอีกด้วย

3. ต้นทุนค่าแรงช่างและประหยัดเวลา
เนื่องจากเหล็กกัลวาไนซ์(GI) ช่วยลดขั้นตอนในการทาสีลง และไม่ต้องทาสีรองพื้นและรอให้แห้งเป็นวันๆ เหมือนเหล็กดำ ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการจ้างงาน ลดลงตามไปด้วย จึงช่วยให้เจ้าของบ้านเซฟค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้อีก แถมยังสร้างมูลค่าของงานรับเหมาได้อีกด้วย เหล็กกัลวาไนซ์จึงเป็นที่นิยมทั้งภายในกลุ่มช่าง และเจ้าของบ้าน

กระบวนการเผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ

กระบวนการเผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ

“กระบวนการผลิตเหล็กเหล็กกัลวาไนซ์ผลิตต่างจากเหล็กดำอย่างไร”
“วัตถุดิบที่ใช้ต่างกันอย่างไรระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ”

กระบวนการผลิตเหล็กพรีกัลวาไนซ์ (GI)

เหล็กพรีกัลวาไนซ์ (GI) มีส่วนประกอบของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนกว่าเหล็กรูปพรรณดำ โดยมีกระบวนการผลิตแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง คือ การนำคอยส์เหล็กม้วนใหญ่จุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี หรือ ซิงค์หลอมเหลวด้วยความร้อน 450 องศา ด้วยความเร็วสูง โดยโดยชั้นเหล็กจะถูกผ่านกระบวนการชุบ้วยความเร็วและในบ่อสังกะสีประมาณ 2 ถึง 4 วินาที และหลังจากได้คอยส์หรือเหล็กม้วนกัลวาไนซ์แล้ว จึงนำม้วนเหล็กกัลวาไนซ์มาตัด พับ ขึ้นรูปเป็นทรงต่างๆ เช่น กล่องเหลี่ยมกล่องแบน ฉากพับ ท่อกลม เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกกันว่า เหล็กขาว หรือ เหล็กรีดเย็น
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เหล็กกัลวาไนซ์ GALVANIZED STEEL คืออะไร


กระบวนการผลิตเหล็กดำ (CA)

การผลิตของเหล็กดำ CA จะเป็นการหล่อ หรือ นำเหล็กนำมารีดขึ้นรูปโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการจุ่มร้อน หรือเคลือบกันสนิมจึงทำให้มีความต่างในเรื่องของตันทุนการผลิตค่อนข้างมาก แต่เหล็กดำก็เป็นเหล็กที่ได้มาตราฐานและใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน และมีมาตราฐาน มอก. ต่างๆ รองรับแต่ละผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน



มาตราฐาน เหล็กกัลวไนซ์ VS เหล็กดำ


มาตราฐาน เหล็กกัลวไนซ์ VS เหล็กดำ

“เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐาน มอก. หรือไม่”
“เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐานเทียบเท่าเหล็กดำอย่างไร”

มาตราฐานการผลิตเหล็กกล่องกัลวาไนซ์ มีหรือไม่?

เป็นอีกคำถามที่น่าสนใจและกลายเป็นเรื่องร้อนแรงของวงการเหล็กกัลวาไนซ์เช่นกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีคนหันมาให้เหล็กกัลวาไนซ์กันมาขึ้น ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดให้มี มอก. 50-2561 เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน แผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นตัด และแผ่นลูกฟูก เพื่อมาช่วยควบคุมเรื่องมาตราฐานการผลิต โดยกำหนดมาตราฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 สิงหาคม 2563
ดังนั้น ผู้ผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ภายในประเทศไทยจึงเริ่มมีปรับมาตราฐานการผลิตเพื่อให้สอดคล้องและรองรับมาตราฐาน มอก.50-2561

มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กดำ

เหล็กเป็นโครงสร้างหลักที่สำคัญต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงต้องมาการควบคุมให้ได้มาตราฐาน ดังนั้นจึงมี มอก.ต่างๆออกมาควบคุมการผลิต อาทิเช่น

  • มอก. 1227-2558 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
  • มอก. 24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย
  • มอก. 20-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม
  • มอก. 50-2561 เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน แผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นตัด และแผ่นลูกฟูก
  • มอก. 1227-2558 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
  • มอก. 1228-2561 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น
  • มอก. 528-2548 เหล็กกล้าคาร์บอนทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานทั่วไปและงานขึ้นรูป

**สามารถ download เอกสาร มอก. ได้ตามลิงค์***

ค่าความแข็งของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ


ค่าความแข็งของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ

“เหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำมีความแข็งแรงต่างกันไหม”
“อายุการใช้งานระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำต่างกันอย่างไร”

ค่าความแข็ง Yeild Strenght ของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ

ความคงทนและความแข็งแรงระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ ถ้ากล่าวถึงค่าความแข็งคงต้องพูดถึงค่า Yeild Strenth ของเหล็ก

  • เหล็กกัลวาไนซ์แบบกล่องจะมีค่าเฉลี่ยของ Yeild Strenght ประมาณ 2500 ksc หรือ 245 MPa และ มีค่า Tensile Strenght ที่ 4000 Ksc หรือ 400 MPa โดยจะมีอายุการใช้งานของเหล็กกัลวาไนซ์จะทนทานกว่า 15-20 ปี
  • เหล็กรูปพรรณ หรือ เหล็กกล่องดำ จะมีค่าเฉลี่ยของ Yeild Strenght ตำสุดประมาณ 2500 ksc หรือ 245 MPa ถึง 4000ksc/400 Mpa หรือมากกว่าตามประเภทและความหนา และ มีค่า Tensile Strenght ที่ 4500 Ksc หรือ 450 MPa ขึ้นไป ดังนั้นโครงสร้างขนาดใหญ่หรือโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักอาคารสูงจึงเลือกใช้ เหล็กรูปพรรณที่ได้รับมาตราฐาน

สรุปจะใช้เหล็กกัลวาไนซ์หรือเหล็กดำดี

เมื่อศึกกษาถึงความแตกแต่งระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำแล้ว ก็ต้องเข้าใจถึงโครงสร้างอาคารว่าควรใช้เหล็กแบบไหนเหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์(GI) มีข้อดีที่แตกต่างกัน เพียงแต่ผู้รับเหมา ช่างรับเหมา หรือเจ้าของบ้าน เลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานตามหลักวิศวกรรม ก็จะช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัย และที่สำคัญ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน หรือต่อเติมได้ โดยช่างส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้เหล็กพรีกัลวาไนซ์ เพราะเป็นเหล็กที่ใช้งานง่าย ขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาตัดเชื่อมได้ทันที ไม่ต้องทาสี รอสีแห้ง งานเสร็จใว หน้างานไม่เลอะ เพราะเหล็กพรีกัลวาไนซ์มีคุณสมบัติทนต่อการเกิดสนิม จึงใช้งานภายนอกได้ดี แม้ทางผู้ผลิตจะบอกว่าความแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็กดำ แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ทำโครงสร้างหลักสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นผู้งานควรปรึกษาวิศวะกรโครงสร้างหรือช่างผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับงานตามหลักวิศวกรรม บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัดยินดีให้คำปรึกษาทุกกรณี

@695isbas

สั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Tel : 02-101-1298 (Head Office)
094-146-2928 (Hot-Line)
Line ID : @695isbas Mail : aplus.online@aprimeplus.com


บทความนี้เรียบเรียงโดยทีมงานบริษัทเอไพร์ม พลัส จำกัด ©copy right All rights reserved
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ HDG กับ เหล็กชุบซิงค์ เหล็กกัลวาไนซ์ GI ต่างกันอย่างไร ?
เหล็ก SS400 JIS G3101 คืออะไร
ท่อกลมกัลวาไนซ์ ท่อประปากัลวาไนซ์ Galvanized Steel Pipe